หน้าแรกเข้าสู่ระบบเพื่อให้ความ
เห็นหรือสร้าง Blog ของคุณค้นหาตามเงื่อนไขDownload คู่มือการใช้งานติดต่อเรา

  เรื่อง ความรู้เบื้องต้นระบบภูมิสารสนเทศ  
  สร้างโดย : charuphan  
  สร้างเมื่อ : 19 ตุลาคม 2555   เวลา 15:37 น.   แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 19 ตุลาคม 2555   เวลา 15:41 น.      
  หมวดหมู่ : ด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์  จำนวนผู้เข้าชม : 5591  
     
   
     
            ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics หรือ Geomatics) เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักกันมากขึ้น สำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ และติดตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากร ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบภูมิสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่

1. การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing – RS )
ความหมายและคำนิยามของคำว่า การรับรู้จากระยะไกล (สุรชัย, 2546 ) กล่าวว่า เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฎการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมายโดยอาศัยคุณสมบัติ ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น (Spectral) รูปทรงสัณฐาน ของวัตถุบนพื้นผิวโลก (Spatial )และการเปลี่ยนแปลง ตามช่วงเวลา (Temporal) แผนที่เฉพาะเรื่องได้เกี่ยวข้องทรัพยากรที่ปกคลุมโลกเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักธรณีวิทยา นักปฐพีวิทยา นักสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่ใช้ในการติดตาม ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น

ปัจจุบันมีการพัฒนารายละเอียดของภาพที่แสดงผล มากขึ้น จนปัจจุบันมีข้อมูลที่มีรายละเอียดปานกลาง เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ LANDSAT-7 ETM+ หรือ SPOT-5 และข้อมูลที่มีรายละเอียดสูง เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ IKONOS, QUICKBIRD รายละเอียดของข้อมูลแผนที่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ของโลกมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งในยุดดังกล่าวมนุษย์ได้พบกับอุปสรรคของปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้น และขณะเดียวกันข้อมูลเชิงปริมาณที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ขนาดของพื้นที่ ก็ยังขาดเทคนิคในการวิเคราะห์ ทางคณิตศาสตร์ และการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมด้วย

การรับรู้จากระยะไกล (Resmote Sensing) ปัจจุบันนำมาใช้ติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหรือ เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่า อุทุกภัย วาตภัย ไฟป่า และภัยพิบัติที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น วินาศกรรม ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้แล้วเทคนิค Resmote Sensing จะสามารถติดตามผลได้อย่างดี

การนำระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันพบว่า มีอยู่ในสาขาต่างๆ เช่น ด้านป่าไม้ การเกษตร อุทกภัยวิทยาและแหล่งน้ำ การใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ธรณีวิทยา และธรณี สัณฐาน ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง ด้านการทำแผนที่ ภัยธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลมักถูกนำไปผสมผสานกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองเพี่อการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

2. ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System - GPS)
เป็นระบบนำร่องโดยอาศัย คลื่นวิทยุ และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR (NAVigation Satellite Timing and Ranging ) จำนวน 24 ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกๆ จุดบน ผิวโลก ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม GPS มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลังจากเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงในปี พ.ศ 2536 และมีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง

ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS อย่างรวดเร็ว คือ เครื่องมีขนาดเล็กลง ราคาถูก และมีขีดความสามารถสูงขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องรับสัญญาณติดตั้งร่วมอุปกรณ์อื่น เช่น นาฬิกาข้อมูล โทรศัพท์มือถือ และการติดตั้งเพื่อการนำร่องในรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานใน อาคารหรือในบริเวณที่มีการปิดกั้นสัญญาณดาวเทียม ( Indoor GPS)

ระบบ กำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนอวกาศ (Space segment) ส่วนสถานีควบคุม (Control segment ) และส่วนผู้ใช้ (User segment ) ออกแบบและจัดสร้างโดยกองทัพ สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการนำทาง ประโยชน์ของ GPS คือ
1. หาตำแหน่งใดๆ บนพื้นโลกได้ 24 ชั่วโมง
2. การนำทางจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆได้ตามต้องการ
3. การติดตามการเคลื่อนที่ของคน และสิ่งของต่างๆ
4. การทำแผนที่ต่างๆ
5. การวัดเวลาที่เวลาที่เที่ยงตรงที่สุด

ผู้ที่นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานแผนที่ต่างๆ จะได้ผลลัพธ์ของการกำหนดตำแหน่งออกมา 3 รูปแบบ คือ จุดตำแหน่ง (Waypoints) เส้นทางการเคลื่อนที่ (Tracks) และเส้นเชื่อมโยงจุดตำแหน่ง (Routes)

3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems – GIS ) เมื่อองค์ประกอบ ความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีให้ง่ายต่อการจัดทำแผนที่ เป็นสิ่งที่จำเป็น ระบบสารสนเทศ (GIS) จึงมีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ 1960 โดยพัฒนาในการจัดเก็บข้อมูล ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล และการผลิตแผนที่ให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และสามารถ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้

มนุษย์ได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาผลิตแผนที่ทำให้การผลิตแผนที่เริ่มมีระบบมากขึ้น นอกจากการผลิต แผนที่ให้ได้ความสวยงามผ่านหน้าจอแสดงผล มนุษย์ยังสามารถสอบถามข้อมูลต่างๆ เช่น แหล่งที่ตั้งของ สถานที่สำคัญ ข้อมูลจำนวนประชากร การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการ วิเคราะห์หาพื้นที่ที่ถูกผลกระทบหากเกิดภัยธรรมชาติ โดยสิ่งที่มนุษย์คาดการณ์ผ่านระบบแผนที่ บนคอมพิวเตอร์เป็นส่วนที่ช่วยในการวางแผนการพัฒนาชุมชนของตนเองได้ และสามารถเตรียมการระวัง ภัยของชุมชนตัวเองได้

          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) โดย ข้อมูลลักษณะต่างๆ ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา จะถูกนำมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน และกันซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามต้องการ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะอ้างอิงจากระบบพิกัดภูมิศาสตร์ขององค์ประกอบข้อมูลเชิงพื้นที่ของ พื้นผิวโลก ( Graphic หรือ Feature ) ภูมิประเทศ ( Features ) อาจจะถูกแบ่งออกเป็นหลายชั้นข้อมูล (Layers) ที่จัดเก็บข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Attribute data ) ที่บรรยายถึงรูปร่างลักษณะของข้อมูลเชิงพื้นที่บนแผนที่ ข้อมูลเชิงคุณลักษณะเหล่านี้จะจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลชึ่งจะแยกออกจากข้อมูลเชิงพื้นที่ แต่ยังคงมี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ในเวลาเดียวกัน
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเชิงคุณลักษณะและสัมพันธ์กันกับข้อมูล เชิงพื้นที่ ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถรวมข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลชนิดอื่นๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างแผนที่ รายงาน จัดเก็บบันทึก และอธิบายข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งเพื่อใช้ในการวางแผนอย่าง มีระบบ



          ที่มา : http://www.ldd.go.th/Thai-html/work.html
 
     
     
  คำสำคัญ (Keyword) : ระบบภูมิสารสนเทศ , Geo-informatics , Geomatics , Remote Sensing , GPS , GIS  
     
 
Rating : 4.20
 
     
 
ความเห็นที่ 1
 หากสนใจเกี่ยวกับ GIS สามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.gis2me.com/th/?cat=5 ของ รองศาสตราจารย์ สุเพชร จิรขจรกุล ค่ะ
โดย rujirat (30 ตุลาคม 2555 10:21 น.)

ความเห็นที่ 2
 ขอบคุณค่ะ
โดย Nutnicha (20 มกราคม 2556 16:42 น.)

ความเห็นที่ 3
 สำหรับกรมพัฒนาที่ดินมีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้าน RS, GIS, GPS มาใช้ในการทำงานของกรมฯ นานแล้ว เพราะทำให้การทำงานทั้งด้านการสำรวจและจัดทำแผนที่ต่างๆ มีความสะดวกและถูกต้องมากขึ้น
โดย Kanokwan (20 มกราคม 2556 19:43 น.)

 
     
  ต้อง Login ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้  
  เข้าหน้าหลักเพื่อสร้างบล็อกของคุณ (ต้อง Log In เข้าสู่ระบบก่อน)