หน้าแรกเข้าสู่ระบบเพื่อให้ความ
เห็นหรือสร้าง Blog ของคุณค้นหาตามเงื่อนไขDownload คู่มือการใช้งานติดต่อเรา

  เรื่อง การทำปุ๋ยหมัก พด.1ไม่ใส่ ยูเรียได้ไหมครับ  
  สร้างโดย : attaya  
  สร้างเมื่อ : 1 พฤษภาคม 2562   เวลา 00:19 น.   แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 1 พฤษภาคม 2562   เวลา 00:22 น.      
  หมวดหมู่ : ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ  จำนวนผู้เข้าชม : 1002  
     
   
     
            หลักการทำปุ๋ยหมัก คือ ต้องคิดถึงปัจจัย 5 ประการ
1. วัสดุอินืทรีย์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก
2. น้ำ หรือความชื้นในกองปุ๋ยหมัก
3. อากาศ ในกองปุ๋ยหมัก
4. จุลินทรีย์ ที่ใช้ในการหมัก
5. อาหารของจุลินทรีย์

          1. วัสดุอินทรีย์ มีผลมากต่อ ความชื้น อากาศ รวมถึง อาหารของจุลินทรีย์ด้วย
หากวัสดุอินทรีย์ ละเอียดเกินไป จะทำให้อับอากาศได้ง่าย บางครั้งน้ำอาจซึมเข้าตรงกลางของกองปุ๋ยหมักยาก ทำให้แห้งเกินไป
หากวัสดุอินทรีย์ หยาบเกินไป จะทำให้ระบายอากาศดี แต่ก็ทำให้น้ำสูญเสียได้ง่ายด้วยเช่นกัน
เราจึงควรปรับการใช้วัสดุอินทรีย์ให้มีขนาดที่เหมาะสม โดยทั่วไปก็มักจะใช้ขนาดเท่าปลายนิ้ว (1-3 ลูกบาศ์กเซนติเมตร) กรณีของฟาง แม้จะยาวแต่ความหนาไม่มาก ก็ไม่ต้องตัดให้สั้นๆ ก็ได้นะ. ปรับตามเห็นสมควร

2. น้ำ หรือความชื้น นอกจากจะมีผลจากตัววัสดุอินทรีย์แล้ว การดูแลให้ความชื้นเหมาะสมก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่าให้กองปุ๋ยหมักแฉะเกินไป เพราะหากแฉะเกินไปจะเกิดภาวะอับอากาศได้ง่าย และจุลินทรีย์ใน พด.1 จะทำงานได้ไม่เต็มที่ (กรณีของหมักพืชอวบน้ำ เช่น ผักตบชวา จึงต้องมีสูตรพิเศษ และมีการใช้ พด.6 ช่วย)
ขนาดของกองปุ๋ยหมัก และการระบายอากาศ ก็มีผลต่อความชื้นของกองปุ๋ยหมักเช่นกัน การกองปุ๋ยหมักแบบสามเหลี่ยมของปุ๋ยหมักแม่โจ้ มีแนวโน้มให้ความชื้นสูญเสียได้ง่ายกว่าการกองเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูปกติ แต่อาจได้ประโยชน์ด้านอื่นแทน ปรับตามเห็นสมควร

3. อากาศ เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับน้ำ ชนิดและขนาดของวัสดุอินทรีย์ รวมถึงลักษณะการกองปุ๋ยหมักมีผลต่ออากาศในกองปุ๋ยหมักเช่นกัน
การกลับกองปุ๋ยหมัก. การเติมอากาศ. การใช้ไม้กระทุ้ง. การใส่ท่อพีวีซีเจาะรู. ล้วนเป็นวิธีการในการจัดการอากาศในกองปุ๋ยหมักทั้งสิ้น. ปรับตามเห็นสมควร

4. จุลินทรีย์ ก็พด.1 ไม่ต้องคิดเยอะ (กรณีปุ๋ยหมักแม่โจ้ จะใช้ขีวัวจำนวนมาก เพราะต้องการจุลินทรีย์ย่อยสลายเซลลูโลส จากขี้วัว)

5. อาหารของจุลินทรีย์ หลักๆ มีแค่ 2 ตัว คือ คาร์บอน (C) ซึ่งไม่ต้องห่วงเพราะได้จากวัสดุอินทรีย์อยู่แล้ว
อีกตัว คือ ไนโตรเจน (N) ซึ่งหากวัสดุอินทรีย์มีไนโตรเจนไม่พอ (C/N สูง) เราต้องหาแหล่งไนโตรเจนเพิ่มให้ ซึ่งเราก็เน้นใช้ ยูเรีย เพราะหาง่าย

          หากไม่อยากใช้ ยูเรีย ขอให้พิจารณา 2 อย่าง
1. วัสดุอินทรีย์ของเรา มีสัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน สูงขนาดไหน ถ้าต่ำมากๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เลย
2. เราสามารถหาวัสดุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนสูงๆ มาแทนได้ไหม เช่น ต้นกระถิน ไมยราบ หรือพืชตระกูลถั่วอื่นๆ ถ้าหาได้ ให้นำมาใส่ในกองปุ๋ยหมัก สัก 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 3 ของวัสดุอินทรีย์ทั้งหมด ก็ไม่ต้องใช้ ยูเรีย
 
     
     
  คำสำคัญ (Keyword) : ปุ๋ยหมัก  
     
 
Rating : -
 
     
   
     
  ต้อง Login ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้  
  เข้าหน้าหลักเพื่อสร้างบล็อกของคุณ (ต้อง Log In เข้าสู่ระบบก่อน)