หน้าแรกเข้าสู่ระบบเพื่อให้ความ
เห็นหรือสร้าง Blog ของคุณค้นหาตามเงื่อนไขDownload คู่มือการใช้งานติดต่อเรา

  เรื่อง GIS IN THE FUTURE  
  สร้างโดย : suhattaya  
  สร้างเมื่อ : 6 มีนาคม 2557   เวลา 13:28 น.   แก้ไขล่าสุดเมื่อ : Err   เวลา 0 น.      
  หมวดหมู่ : ด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์  จำนวนผู้เข้าชม : 3105  
     
   
     
            ในปัจจุบันการนำ GIS มาช่วยในการปฏิบัติงาน กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงมีการพัฒนามากขึ้น GIS ช่วยให้สามารถเห็นภาพหรือพื้นที่ต่างๆ ได้ในมุมกว้างอย่างชัดเจน อีกทั้งสะดวกต่อการทำงานและช่วยให้การวิเคราะห์พื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะไม่จำเป็นต้องออกเดินทางไปยังพื้นที่นั้นๆ ด้วยตนเอง หรือช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่เราต้องออกเดินทางไปในที่ๆ ยากต่อการเข้าถึง และมีข้อจำกัดด้านเวลา หรือระยะทางในการเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น GIS จึงช่วยลดต้นทุนในการเดินทางได้เป็นอย่างดี
รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานต่างๆ ไปเป็นอย่างสะดวกสบายมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ GIS จะได้รับความนิยมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความต้องการของแต่ละองค์กร ด้วยเหตุนี้เอง GIS จึงเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งยังถูกพัฒนาความสามารถให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
ดังนั้น ในอนาคตคาดว่า GIS คงมีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ง่ายและสะดวกสบายกับผู้ที่ใช้งานมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และได้รับการพัฒนาให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้โดยตรง มีตัวเลือกที่ช่วยในการวิเคราะห์ทำงาน หรือตอบคำถามที่เราสงสัยได้มากกว่านี้ สามารถแสดงภาพและลักษณะของพื้นที่ดังกล่าวได้ใกล้เคียงความเป็นจริง มีราคาต้นทุนการใช้ที่ถูกลง และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างแพร่หลายกับทุกๆ หน่วยงานอีกด้วย

          ความหลากหลายในการนำ GIS มาใช้งาน กิจกรรมต่างๆ ล้วนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากแผนที่ และระบบ GIS ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อประกอบในกานตัดสินใจ จึงอาจกล่าวได้ว่า GIS เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กร ตลอดจนผู้บริหารและจ้าหน้าที่ทุกๆ ส่วน ซึ่งสามารถมองภาพรวมของแผนที่ต่างๆ และลักษณะองค์ประกอบของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน จึงง่ายต่อการตัดสินใจวางโครงการ หรือประกอบธุรกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นนั้น GIS ยังสามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานด้านต่างดังนี้
1. การอนุรักษ์ละจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management, Conservation) การจัดการทางพืชและสัตว์ในดิน (Flora and Fauna) สัตว์ป่า (Wild Life) อุทยานแห่งชาติ (National Park) การควบคุมและติดตามมลภาวะ (Pollution Control and Monitoring) และแบบจำลองด้านนิเวศวิทยา (Ecological Modeling)
2. การจัดการด้านทรัพยากร/การเกษตร (Resources Management/Agriculture) การจัดการระบบชลประทาน การพัฒนาและจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และการทำไม้ฯ
3. การวางแผนด้านสาธารณะภัย (Disaster Planning) การบรรเทาสาธารณะภัย การติดตามการปนเปื้อนของสารพิษ และแบบจำลองผลกระทบอุทกภัย (Modeling Flood Impacts)
4. ด้านผังเมือง (Urban GIS) การวางแผนผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น ถนน เขื่อน คลอง เป็นต้น การตรวจสอบการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ การวางผังเมือง การวิเคราะห์ด้านอาชญากรรม ที่ดินและภาษีที่ดิน ระบบการระบายน้ำเสีย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฯลฯ
5. การจัดการสาธารณูปโภค (Facilities Management) การจัดการด้านไฟฟ้า ประปา ท่อส่งก๊าซ หน่วยดับเพลิง ระบบจราจรและโทรคมนาคม
6. การวิเคราะห์ด้านตลาด (Marketing Analysis) การหาที่ตั้ง ที่เหมาะสมในการขยายสาขา หรือสำนักงาน
7. ด้านการเดินทาง แสดงแผนที่ เส้นทาง จุดสำคัญในการเดินทาง เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว
8. ด้านประโยชน์ทางการทหาร
9. ด้านสาธารณสุข เพื่อดูการแพร่ขยายของโรคระบาดต่างๆ เช่น ไข้หวัด
10. ด้านโบราณคดี

          http://pirun.ku.ac.th/
 
     
     
  คำสำคัญ (Keyword) : 0  
     
 
Rating : NaN
 
     
   
     
  ต้อง Login ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้  
  เข้าหน้าหลักเพื่อสร้างบล็อกของคุณ (ต้อง Log In เข้าสู่ระบบก่อน)