หน้าแรกเข้าสู่ระบบเพื่อให้ความ
เห็นหรือสร้าง Blog ของคุณค้นหาตามเงื่อนไขDownload คู่มือการใช้งานติดต่อเรา

  เรื่อง พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  
  สร้างโดย : areerat  
  สร้างเมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2557   เวลา 14:33 น.   แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2557   เวลา 14:44 น.      
  หมวดหมู่ : ด้านป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร  จำนวนผู้เข้าชม : 6650  
     
   
     
            น้ำท่วมหรืออุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในทุกภาคของประเทศไทย โดยลักษณะของการเกิดน้ำท่วม มีความรุนแรงและรูปแบบต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและสภาพพื้นที่โดยการเกิดน้ำท่วมแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ น้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้เชิงภูเขา เนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยปริมาณน้ำจำนวนมากเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วจากที่สูงลงสู่พื้นที่ต่ำก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศหากบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่วนลักษณะที่สอง ได้แก่ น้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ไหลบ่าในแนวระนาบจากที่สูงไปยังที่ต่ำ หรือปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องที่ไหลลงสู่ลำน้ำหรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่างหรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาด หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำหรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระยะเวลาและระดับความสูงของน้ำที่ท่วมแช่ขัง

          พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก หมายถึง พื้นที่ที่มีการท่วมขังของน้ำบนผิวดินสูงกว่าระดับปกติและมีระยะเวลาที่น้ำท่วมขังยาวนานอยู่เป็นประจำ จนสร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร ทรัพย์สิน และ/หรือชีวิต ทั้งนี้สามารถจำแนกการเกิดน้ำท่วมซ้ำซากออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ (ดัดแปลงมาจากชั้นอันตรายจากการถูกน้ำท่วม: flooding คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย, 2543)
ระดับที่ 1 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นครั้งคราว มีน้ำท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี
ระดับที่ 2 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง มีน้ำท่วมขัง 4-7 ครั้งในรอบ 10 ปี
และระดับที่ 3 พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ มีน้ำท่วมขังมากกว่า 8 ครั้งในรอบ 10 ปี



          พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านและสังคม โดยเฉพาะกับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายเป็นประจำ ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่เกษตรกรสามารถทำได้คือการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมร่วมกับการเรียนรู้และสังเกตธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทุกๆปี ซึ่งจะช่วยในการป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
 
     
     
  คำสำคัญ (Keyword) : น้ำท่วม, น้ำท่วมซ้ำซาก  
     
 
Rating : -
 
     
   
     
  ต้อง Login ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้  
  เข้าหน้าหลักเพื่อสร้างบล็อกของคุณ (ต้อง Log In เข้าสู่ระบบก่อน)