|
เรื่อง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินและผลเสีย
|
|
|
สร้างโดย :
rujirat
|
|
|
สร้างเมื่อ :
18 มกราคม 2556   เวลา 15:13 น.
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
18 มกราคม 2556   เวลา 15:52 น.
|
|
|
หมวดหมู่ :
ด้านหญ้าแฝก
จำนวนผู้เข้าชม :
3232
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
          ดิน เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เนื่องจากดินเป็นแหล่งของปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้ถูกมนุษย์ทำลายจากการบุกรุก หักร้าง ถางพงและเผาป่า เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก เมื่อขาดการระวังรักษาดูแล ตลอดจนปล่อยให้ผิวหน้าดินอยู่ในสภาพว่างเปล่า ปราศจากพืชพรรณ หรือวัสดุปกคลุมดิน เพราะได้ถูกเผาทำลายไป ส่งผลให้เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน เม็ดฝนที่ตกลงมากระทบผิวดินจะรวมตัวกัน กลายเป็นน้ำไหลบ่า ไหลผ่านท่วมผืนดิน พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่ที่ปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่า ปราศจากพืชพรรณปกคลุม ความรุนแรงของน้ำไหลบ่าจะกัดเซาะผิวหน้าดิน กระแสน้ำไหลบ่าจะพัดพาเอาตะกอนแขวนลอยรวมทั้งธาตุอาหารพืชในดิน จากที่สูงลงไปสู่ที่ต่ำ สู่ลำห้วย หนอง คลอง บึงและลงสู่แม่น้ำในที่สุด กระแสน้ำอีกส่วนหนึ่งจะไหลซึมลงดิน และชะล้างเอาธาตุอาหารพืชจากชั้นดินบน ให้ไหลลงสู่ชั้นดินล่าง ทำให้ผืนดินเดิมที่ใช้เพาะปลูกได้ สูญเสียธาตุอาหารพืชไป
กระแสน้ำไหลบ่าก่อให้เกิดการชะล้างพังทลาย โดยกัดเซาะผิวหน้าดินออกเป็นแผ่นบางๆ จนกลายเป็นการกัดเซาะแบบริ้ว และนานวันเข้าจะกัดเซาะจนเป็นร่องลึก ร่องน้ำและทางไหลผ่านของน้ำก่อให้เกิดการเสื่อมโทรมของผืนดิน ปลูกพืชไม่งอกงามจนไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกพืชได้ในที่สุด
          
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ได้แก่
- ลม เป็นตัวการพัดพาดินที่มีอนุภาคขนาดเล็กตามผิวดินจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
- น้ำื น้ำฝนที่ตกกระทบผิวดิน ทำให้อนุภาคดินแตกกระจาย น้ำส่วนหนึ่งซึมลงดิน ส่วนที่เหลือไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำและชะล้างหน้าดินพร้อมธาตุอาหารพืช พัดพาไปสู่แม่น้ำ ลำธาร หนอง บึงและอ่างเก็บน้ำ
- มนุษย์ เป็นตัวการบุกรุกตัดไม้และเผาป่า ทำให้ผิวดินไม่มีืพืชปกคลุมดิน และขาดต้นไม้ที่หยั่งรากลึกที่จะช่วยยึดหน้าดินไว้ มนุษย์นับเป็นตัวเร่งให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินเกิดเร็วขึ้น
          
ผลเสียที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน
1.สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพราะธาตุอาหารพืชต่าง ๆ และอินทรียวัตถุบางส่วนถูกน้ำชะล้างและพัดพาให้ไหลซึมลึกลงในดินหรือไหลไปกับน้ำไหลบ่า
2. สูญเสียเนื้อดินบน หน้าดินตื้นลง สมบัติของดินไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช
3. เกิดสภาพพร่องน้ำในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้การปฏิบัติงานในไร่ในไร่นาไม่สะดวก การไถพรวนดินมีความยากลำบากจากร่องการกัดเซาะ
4. แหล่งน้ำตื้นเขิน ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่ถูกพัดพามาสะสมในแหล่งน้ำ มีผลให้การสัญจรทางน้ำไม่สะดวก มีอุบัติภัยเกิดขึ้นเสมอ และทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันเมื่อฝนตกหนัก
5. ผลผลิตพืชลดลง จากการขาดธาตุอาหาร เกษตรกรมีฐานะความเป็นอยู่ยากจนลง และหนี้สินเพิ่มขึ้น
(เรียบเรียงจากบางส่วนของหนังสือความรู้เรื่องหญ้าแฝกสำหรับเยาวชน : หญ้าแฝก ดึงน้ำ สร้างดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน, 2555)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำสำคัญ (Keyword) :
การชะล้างพังทลาย ปัจจัยการชะล้างพังทลายดิน ผลเสียจากการชะล้างพังทลายดิน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าหน้าหลักเพื่อสร้างบล็อกของคุณ
(ต้อง Log In เข้าสู่ระบบก่อน)
|
|