|
เรื่อง
การจัดการดินและน้ำหลังน้ำท่วมในสวนผลไม้
|
|
|
สร้างโดย :
savangjt
|
|
|
สร้างเมื่อ :
4 ธันวาคม 2555   เวลา 15:37 น.
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
4 ธันวาคม 2555   เวลา 15:37 น.
|
|
|
หมวดหมู่ :
ด้านการจัดการทรัพยากรดิน
จำนวนผู้เข้าชม :
3194
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
          
ผลเสียหายที่เกิดแก่ไม้ผลที่ถูกน้ำท่วมขัง
1.ถ้าน้ำท่วมนาน ๆ ไม้ผลบางชนิดอาจจะล้มได้
2.น้ำท่วมทำให้ดินขาดการระบายอากาศทำให้รากไม้ผลขาดออกซิเจน รากพืชจำเป็นต้องใช้ในการหายใจและเป็นที่สะสมของคาร์บอนไดออกไซด์
3.ขณะน้ำท่วมอินทรียวัตถุในดิน เศษพืชและสัตว์ต่าง ๆ จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซพิษที่อันตรายต่อรากไม้ผล
4.ขณะน้ำท่วมประสิทธิภาพการดูดน้ำ และแร่ธาตุต่าง ๆ ของไม้ผลจะลดลง ทำให้ต้นไม้ขาดน้ำลาตุอาหารพืช
5.ขณะน้ำท่วมรากพืช ลำต้นของไม้ผลจะอ่อนแอ ง่ายต่อการที่โรคและแมลงจะเข้าทำลาย
วิธีลดความเสียหายของไม้ผลจากน้ำท่วม
1.ห้ามเข้าไปเหยียบย่ำใต้ต้นไม้ผล เพราะจะทำให้รากขาดและอาจทำให้รากเน่าได้ง่าย
2.กรณีที่ไม้ผลจะล้มต้องทำการค้ำยันไม้ผลไว้ก่อน ต้องใช้ไม้ยาว ๆ โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปเหยียบย่ำใต้ต้นไม้
3.ทำการระบายน้ำออกจากโคนต้นให้หมดเป็นการเร่งด่วน
- ทำร่องน้ำระหว่างแถวไม้ผลให้ลึกอย่างน้อย 1 ฟุต เหมาะสมที่สุด คือ 50 ซม. ถ้าในขณะนั้นดินเป็นเลน ให้ใช้ไหผูกเชือกแล้วลอกให้เป็นรอยลึกระหว่างแถว สามารถใช้เป็นทางระบายน้ำได้
- เอาไม้แหวกดินให้เป็นร่องเล็ก ๆ ที่บริเวณโคนต้นให้น้ำไหลลงสู่ทางระบายน้ำที่สร้างขึ้นมา
4.ใช้พลั่วดึงเศษพืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่ดินเลนทับถมออกให้หมด
5.ในกรณีทีมีไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่เจาะรูปักไว้ใต้โคนต้นเพื่อระบายความร้อน และก๊าซพิษออกจากโคนต้นขณะน้ำท่วมขังและดินแฉะ
6.เมื่อดินเริ่มแห้ง ทำการตัดแต่งกิ่ง โดยเอาใบแก่และกิ่งที่อยู่ระหว่างทรงพุ่มที่ใบไม้ได้รับแสงแดดออก เพราะใบพวกนี้ปรุงอาหารไม่ได้หรือได้น้อยแต่กินอาหารมาก
7.ทำการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใส่ในร่องที่ขุดดินขึ้นรอบ ๆ ทรงพุ่ม ความกว้างของร่องประมาณ 15 ซม. ลึกประมาณ 15 .ซม. หรือใส่ที่โคนต้นในกรณีที่ต้นไมยังมีขนาดเล็ก
8.ให้น้ำรอบ ๆ โคนต้นในกรณีที่ดินแห้ง
- ในกรณีที่เป็นที่ต่ำ ให้ยกขอบแปลงเป็นคันดินให้สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมไม่ต่ำกว่า 30 ซม. โดยทำการขุดคูน้ำรอบ ๆ แปลง แล้วนำดินจากการขุดคุน้ำมาปั้นเป็นคันดินรอบ ๆ แปลง ขอบคูน้ำให้ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินและกรองตะกอนดินไม่ให้ไหลลงร่องน้ำ
- นำดินที่ได้จากการขุดคูน้ำมาถมเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่เรียก คูยกร่องสวน
- ควรขุดบ่อหรือสระน้ำไว้ในพื้นที่เพื่อให้ระบายน้ำเมื่อฝนตกชุก และนำไปใช้เมื่อฝนทิ้งช่วง
- ถ้าพื้นที่เป็นดินลูกรัง หรือดินเหมืองแร่เก่า หรือพื้นที่ดินทรายหรือดินแฉะ ให้ใช้วงบ่อในการปลูกไม้ผล
          
ข้อมูล : กลุ่มวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำพื้นที่สูง สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
ที่มา : http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G4/G4_04.pdf
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำสำคัญ (Keyword) :
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าหน้าหลักเพื่อสร้างบล็อกของคุณ
(ต้อง Log In เข้าสู่ระบบก่อน)
|
|