โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 
: ธนาคารสินค้าเกษตร
 
การดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564
  ดำเนินการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน มาฝากไว้ที่ธนาคาร ซึ่งจะทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรมาเบิกถอนเอาไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการผลิตและมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง โดยกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้บริหารงานภายในธนาคารเอง เพื่อลดปริมาณขยะและเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในแต่ละชุมชน สมาชิกธนาคารปุ๋ยอินทรีย์เกิดการเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายการผลิตและใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลการดำเนินงาน 77 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของเป้าหมาย (เป้าหมาย 77 แห่ง)
  ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 64
 
การดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2563
  ดำเนินการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน มาฝากไว้ที่ธนาคาร เพื่อดำเนินการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรมาเบิกถอนเอาไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้บริหารงานภายในธนาคารเอง
  ในปี 2563 ดำเนินการได้ 78 แห่ง สนับสนุนและส่งเสริมธนาคารปุ๋ยหมัก ดำเนินการผลิตปุ๋ยหมักสูตร พด. ได้ 3,230 ตัน และธนาคารน้ำหมักชีวภาพ ผลิตน้ำหมักชีวภาพได้ 323,000 ลิตร
  ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 63
 
การดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2562
  ดำเนินการโดยจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมมาฝากไว้ที่ธนาคาร ธนาคารจะทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรมาเบิกถอน เอาไปใช้ประโยชน์เมื่อวัสดุนั้นย่อยสลายเป็นปุ๋ยแล้ว หรือให้เกษตรกรกู้ยืมปุ๋ยจากธนาคารไปใช้แล้วใช้หนี้ด้วยวัสดุเหลือใช้จากไร่นา และโรงงานอุตสาหกรรมหรือปุ๋ยคอก เพื่อให้เกิดการผลิตและมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง มีราคาถูก จำแนกเป็นธนาคารน้ำหมักชีวภาพ ธนาคารปุ๋ยหมัก และธนาคารเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด กลุ่มเกษตรกรอาจจะดำเนินการได้ทั้ง 3 ธนาคาร ขึ้นอยู่กับความพร้อม ความต้องการของเกษตรกร และพื้นที่เพาะปลูก โดยให้ธนาคารน้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก กรมฯ ให้การสนับสนุนวัสดุเบื้องต้น เช่น ถังหมัก และเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด หลังจากนั้นเกษตรกรจะเป็นผู้บริหารงานภายในธนาคารเอง เพื่อให้มีการดำเนินการผลิต และใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  ขณะนี้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ 78 แห่ง (ธนาคารปุ๋ยหมัก และธนาคารผลิตน้ำหมักชีวภาพ) คิดเป็นร้อยละ 101.29 ของเป้าหมาย (77 แห่ง) ดำเนินการผลิตปุ๋ยหมักได้ 2,800 ตัน และผลิตน้ำหมักชีวภาพได้ 719,100 ลิตร
  ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 62
 
ดำเนินการโดยจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมมาฝากไว้ที่ธนาคาร ธนาคารจะทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรมาเบิกถอน เอาไปใช้ประโยชน์เมื่อวัสดุนั้นย่อยสลายเป็นปุ๋ยแล้ว หรือให้เกษตรกรกู้ยืมปุ๋ยจากธนาคารไปใช้แล้วใช้หนี้ด้วย วัสดุเหลือใช้จากไร่นา และโรงงานอุตสาหกรรมหรือปุ๋ยคอก เพื่อให้เกิดการผลิตและมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง มีราคาถูก จำแนกเป็นธนาคารน้ำหมักชีวภาพ ธนาคารปุ๋ยหมัก (สูตรพระราชทาน) และธนาคารเมล็ดพันธุ์ปุ๋ย พืชสด กลุ่มเกษตรกรอาจจะดำเนินการได้ทั้ง 3 ธนาคาร ขึ้นอยู่กับความพร้อม ความต้องการของเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูก โดยให้ธนาคารน้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก กรมฯ ให้การสนับสนุนวัสดุเบื้องต้น เช่น ถังหมัก และเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด หลังจากนั้น เกษตรกรจะเป็นผู้บริหารงานภายในธนาคารเอง เพื่อให้มีการดำเนินการผลิตและใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดำเนินการต่อยอดการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ โดยการส่งเสริมธนาคารปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน ธนาคารผลิตน้ำหมักชีวภาพ และธนาคารเมล็ด-พันธุ์พืชปุ๋ยสด
  ขณะนี้ดำเนินการดำเนินการโดยจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ได้ 80 แห่ง (เป้าหมาย 77 แห่ง)
  ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 61
 
การดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
โดยดำเนินการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมมาฝากไว้ที่ธนาคาร ธนาคารจะทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรมาเบิกถอน เอาไปใช้ประโยชน์เมื่อวัสดุนั้นย่อยสลายเป็นปุ๋ยแล้ว หรือให้เกษตรกรกู้ยืมปุ๋ยจากธนาคารไปใช้แล้วใช้หนี้ด้วย วัสดุเหลือใช้จากไร่นา และโรงงานอุตสาหกรรมหรือปุ๋ยคอก เพื่อให้เกิดการผลิตและมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง มีราคาถูก จำแนกเป็นธนาคารน้ำหมักชีวภาพ ธนาคารปุ๋ยหมัก (สูตรพระราชทาน) และธนาคารเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด กลุ่มเกษตรกรอาจจะดำเนินการได้ทั้ง  3 ธนาคาร ขึ้นอยู่กับความพร้อม ความต้องการของเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูก โดยให้ธนาคารน้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก กรมฯ ให้การสนับสนุนวัสดุเบื้องต้น เช่น ถังหมัก และเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด      หลังจากนั้น เกษตรกรจะเป็นผู้บริหารงานภายในธนาคารเอง เพื่อให้     มีการดำเนินการผลิตและใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องและ   ยั่งยืน
  ขณะนี้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ 80 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 103.90 ของเป้าหมาย (77 แห่ง) มีการผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จำนวน 2,682 ตัน และผลิตน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 749,500 ลิตร
  ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 60