ดาวน์โหลดเอกสารรูปเล่ม กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF) เวอร์ชั่น 2.0
[ข้อมูลจาก : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]

ดาวน์โหลด PowerPoint กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (TH e-GIF)
[ข้อมูลจาก : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)]

 
               "กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ" หรือ "Thailand e-Government Interoperability Framework" (TH e-GIF) ได้รับการพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และการปฏิบัติการร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกระบวนงานระบบสารสนเทศระหว่างระบบสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ ที่มีความแตกต่างกันให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ หรือมีระบบสารสนเทศภาคเอกชนร่วมเชื่อมโยงได้ด้วย เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน (One Stop Service)
 
กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ มีประโยชน์อย่างไร...?    
            1.
องค์กรภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีธุรกรรมที่มีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล สามารถนำไปกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ นโยบายจัดทำโครงการและจัดสรรหรือของบประมาณ เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีจำนวนบริการและมีจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้น
2.
ใช้เป็นคู่มือพื้นฐานสำหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคในการเขียนข้อกำหนด ทางเทคนิคของโครงการพัฒนาระบบเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล และใช้เป็นคู่มือในการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงบริการ และแลกเปลี่ยนข้อมูล และปฏิบัติการร่วมระหว่างระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมและคุ้มค่า
 
มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (TH-e-GIF V.2.0)   
  มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เวอร์ชั่น 2.0 ประกอบด้วย
       1.
หมวดมาตรฐานการเชื่อมโยง (Interconnection Specification) ได้แก่ มาตรฐานที่ใช้ในการเชื่อมโยงระบบข้อมูล แนวทางการเชื่อมโยงในระดับโปรโตคอล
2.
หมวดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Exchange Specification) ได้แก่ มาตรฐานสำหรับการจัดโครงสร้างข้อมูล (Structure) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encode)
3.
หมวดมาตรฐานรูปแบบการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล (Storage & Presentation Specification) ได้แก่ มาตรฐานรูปแบบของสื่อที่เป็น Image , Streaming media และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
4.
หมวดบริการผ่านเว็บเซอร์วิสเทคโนโลยี (Web Technology Specification) ได้แก่ มาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่มีแพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการที่เหมือนและแตกต่างกัน
5.
หมวดบริการด้านธุรกรรม (Business Service Specification) ได้แก่ มาตรฐานและเทคโนโลยีในกลุ่มงานธุรกรรมที่มีเทคนิคเฉพาะด้านของกลุ่มงานนั้น
6.
หมวดมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย (Security Specification) ได้แก่ มาตรฐานและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความมั่นคงปลอดภัย การเข้ารหัสถอดรหัสข้อมูลมาตรฐาน Digital Signature และโปรโตคอลการส่งข้อมูลที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง
7.
หมวดมาตรฐานเปิดอื่น ๆ (Others Open Standard Specification) ได้แก่ เทคโนโลยีและมาตรฐานเปิดอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมในระดับสากล
               กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เวอร์ชั่น 2.0 ได้มีการปรับปรุงให้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดวิธีการ และมาตรฐานทางเทคนิค มาตรฐานด้านข้อมูล กติกาการตั้งชื่อ และออกแบบโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรฐานด้านการปฏิบัติการร่วมระหว่างระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเพื่อการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ โครงการพัฒนากรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (http://egif.mict.go.th)           
[ที่มา  :  http://egif.mict.go.th]
 
ระบบสารสนเทศในโครงการกดดูรู้ทัน (กดดูรู้ดิน)
               การพัฒนาระบบสารสนเทศในโครงการกดดูรู้ทัน (กดดูรู้ดิน) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะหน่วยงานกำกับโครงการ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะผู้ดำเนินการโครงการฯ เข้าประสานกับ กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศในโครงการพัฒนาและเปิดบริการระบบกดดูรู้ทันแก่ประชาชน ส่วนข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน (กดดูรู้ดิน) เชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มชุดดิน (Soil Group) และข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use) ที่มีอยู่ในระบบบริหารจัดการการตัดสินใจเชิงพื้นที่ EIS-ด้านการพัฒนาที่ดิน สวทน. พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ API (Application Programming Interface) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ Mobile Application การสืบค้นข้อมูลเป็นลักษณะ Location Based Computing ผ่านหลายช่องทาง เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smart Phone) และอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ (Mobile Device)
               ระบบดังกล่าวฯ ใช้ SOAP ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในหมวดที่ 4 : หมวดบริการผ่านเว็บเซอร์วิสเทคโนโลยี (Web Technology Specification) ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเว็บเซอร์วิส เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่มีแพลตฟอร์มเหมือนกันและแตกต่างกัน (ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ 2.0)
เอกสารประกอบ
1.
หนังสือเชิญเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่อง
2.
บันทึกรายงานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศในโครงการกดดูรู้ทัน
3.
การเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องในการพัฒนาระบบสารสนเทศในโครงการพัฒนาและเปิดบริการระบบกดดูรู้ทันแก่ประชาชน ส่วนข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน (กดดูรู้ดิน)
4.
รายละเอียดโครงการพัฒนาและเปิดบริการระบบกดดูรู้ทันแก่ประชาชน ส่วนข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน (กดดูรู้ดิน)
5.
การพัฒนาระบบสารสนเทศในโครงการกดดูรู้ทัน (กดดูรู้ดิน)
 
ระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS PORTAL)
               สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ขอความอนุเคราะห์การเชื่อมโยงแผนที่พร้อมบริการผ่านเครือข่าย(Web Map Service : WMS) ของกรมพัฒนาที่ดิน เข้ากับระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (National Geo-Information Infrastructure Service spatial Portal : NGIS Portal) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ที่เห็นชอบแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ซึ่งข้อมูลแผนที่ที่ สทอภ. ต้องการเชื่อมโยงจาก กรมพัฒนาที่ดิน เป็นข้อมูลที่ กรมฯ ได้เปิดให้บริการในลักษณะแผนที่ออนไลน์ผ่านระบบการบริหารจัดการการตัดสินใจเชิงพื้นที่ (EIS) แล้วในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 ข้อมูล คือ
                         1) ข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศออร์โธสี
                         2) ข้อมูลแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน
               ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการเปิด WMS Service ให้กับข้อมูลดังกล่าวข้างต้น และได้ส่ง Link WMS ให้ สทอภ. ทำการเชื่อมโยงแผนที่เข้ากับระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal) เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นต้นแบบตามแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม ทำให้เกิดการบูรณาการการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
               ระบบดังกล่าวฯ ใช้ XML Schema ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในหมวดที่ 2 : หมวดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Exchange Specification) ซึ่งประกอบด้วยรายงานมาตรฐานเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลครอบคลุมถึงเทคโนโลยีและมาตรฐานต่าง ๆ สำหรับการจัดโครงสร้างข้อมูล (Structure) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encode) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล (ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ 2.0)
เอกสารประกอบ
1.
หนังสือขอความอนุเคราะห์การเชื่อมโยงแผนที่พร้อมบริการผ่านเครือข่าย (Web Map Service) เข้ากับระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal) เพื่อเป็นต้นแบบตามแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่ จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม
2.
บันทึกด่วนที่สุด เรื่องขอความอนุเคราะห์การเชื่อมโยงแผนที่พร้อมบริการผ่านเครือข่าย (Web Map Service) เข้ารับระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal) เพื่อเป็นต้นแบบตามแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่ จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม 
3.
แผนแม่บทการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม
4.
บันทึกแผนการดำเนินงานการเชื่อมโยงแผนที่พร้อมบริการผ่านเครือข่าย (Web Map Service) เข้ารับระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal) เพื่อเป็นต้นแบบตามแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่ จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม
5.
เอกสารการเชื่อมโยงแผนที่พร้อมบริการผ่านเครือข่าย (Web Map Service) เข้ากับระบบภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ (NGIS Portal) เพื่อเป็นต้นแบบตามแนวทางการใช้ประโยชน์ภาพถ่ายแผนที่ จากการสำรวจระยะไกลทางอากาศและดาวเทียม