การดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 
การดำเนินงาน
  1) คลินิกเกษตรเคลื่อนที่
โดยร่วมดำเนินการกับจังหวัดเคลื่อนที่ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และคลินิกดินเคลื่อนที่ ให้บริการวิเคราะห์ดิน และให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ย การจัดการดิน-น้ำ-พืช โดยการนำตัวอย่างดิน ที่มีปัญหามาวิเคราะห์ดินอย่างละเอียดมากในห้องปฏิบัติการ และการบริการวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่ของหน่วยวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่ของสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตทั้ง 12 เขต และคลินิกดินเคลื่อนที่ของสถานีพัฒนาที่ดิน ทั้งส่งเสริมสนับสนุนการใช้สารอินทรีย์ลดสารเคมีทางการเกษตร โดยการสนับสนุนสารเร่ง พด. เพื่อผลิตและใช้น้ำหมัก-ชีวภาพ
       ขณะนี้ดำเนินการได้ 394,634 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.37 ของเป้าหมาย (700,000 ราย)
 
2) สนับสนุนโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โดยดำเนินการสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปัจจัยการผลิตของกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพระราชดำริ และศูนย์ท่องเที่ยวทางการเกษตร ทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการตามพระราชดำริของศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริทั้ง 7 โครงการ นอกจากนี้ กรมฯ ยังเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบประสานการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมา จากพระราชดำริ รวมทั้ง การพัฒนาศูนย์ศึกษาฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และแหล่งให้ความรู้การพัฒนาทรัพยากรดินด้านต่าง ๆ ให้กับเกษตรกร นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป
       ขณะนี้ดำเนินการได้ 93,846 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.96 ของเป้าหมาย (134,150 ไร่)
 
3) การพัฒนาหมอดินอาสาและหมอดินน้อย
โดยการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับหมอดินอาสาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน การใช้ผลิตภัณฑ์ของกรมฯ และการใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ดินอย่างง่าย ให้มีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรดินอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พร้อมทั้ง สนับสนุนให้จัดทำ แปลงสาธิตในพื้นที่ของหมอดินอาสา เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรรายอื่นและผู้สนใจมาดูงาน และเป็นกลไกขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดินให้เข้าถึงเกษตรกรในระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน และโรงเรียน
       ขณะนี้ดำเนินการได้ 82,744 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.39 ของเป้าหมาย (82,424 ราย)
 
4) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน
โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา เพื่อเป็นแหล่งสาธิต ศึกษาดูงาน และเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรในพื้นที่ และเป็นเครือข่าย (Node) ให้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของกระทรวงฯ สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ของหมอดินอาสาที่มีศักยภาพในการจัดทำแปลงสาธิต และมีความสามารถในการเป็นวิทยากรได้ นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และอยู่ใกล้ถนนสามารถเข้าถึงได้
       ขณะนี้ดำเนินการได้ 2,027 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.76 ของเป้าหมาย (2,420 แห่ง)
 
5) พัฒนาคุณภาพดินในระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ดำเนินการในพื้นที่ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดได้คัดเลือกแปลงส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร โดยการส่งเสริมและสาธิตปัจจัยการผลิตในการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตพืชได้ดี ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนการผลิตที่จะต้องประสานกับทีมผู้จัดการแปลง และทีมสนับสนุนอีก 3 ทีม เพื่อเข้าร่วมการจัดทำแผนปฏิบัติงานของแปลงใหญ่แต่ละแปลง
       ขณะนี้ดำเนินการได้ 19,220 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.11 (เป้าหมาย 46,750 ไร่)
 
6) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
โดยดำเนินการจัดทำฐานการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการดิน เกี่ยวกับการสาธิตการทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุง บำรุงดิน และการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้ง การให้บริการทางการเกษตร และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในพื้นที่ ตลอดจนเพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่
       ขณะนี้อยู่ดำเนินการได้ 656 ศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 74.38 (เป้าหมาย 882 ศูนย์)
   
ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 28 ก.พ.60